วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเภทของถังดับเพลิง


ประเถทของถังดับเพลิง

          1.ชนิดเคมีแห้ง (Dry Chemical )

              
          ถังดับเพลิงผงเคมีแห้งลักษณะเป็นผง  บรรจุในถังสีแดง ขบวนการทำงานของถังดับเพลิงผงเคมีแห้งคือ ผงเคมีจะถูกดันออกไป เพื่อคลุมไฟทำให้อับอากาศ  ใช้ในเพลิงไหม้ประเภท A B C

       

          2.ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2)

          บรรจุในถังแดง ต่างประเทศบรรจุในถังสีดำ ภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในถังที่ทนแรงดันสูงประมาณ 800 – 1200 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ซึ่ง ตัวถังดับเพลิงจะหนักและหนากว่าถังดับเพลิง   ประเภทอื่น ๆ ที่ปลายสายฉีดจะมีลักษณะเป็นกรวยทรงกระบอก  คาร์บอนไดออกไซด์จะทำหน้าที่ในกาดับเพลิงโดยคลุมดับและการตัดออกซิเจน ใช้ในเพลิงไหม้ประเภท  B C


          3.ชนิดสารเหลวระเหยหรือ Halonite (NON-CFC Fire Extinguisher)

          เป็น เครื่องดับเพลิง ชนิดยกหิ้ว สีเขียว บรรจุน้ำยาดับเพลิงสารเหลวระเหย ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น  ไม่ติดไฟ ไม่เป็นสื่อในการนำไฟฟ้า เมื่อฉีดออกจะเป็นไอสีขาวและระเหยไปเอง โดยไม่ทำให้วัสดุ-อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และไม่ทำให้เกิดความสกปรกต่อบริเวณที่มีการใช้งาน ใช้ในเพลิงไหม้ประเภท  A B C


          4.ชนิดโฟม (Foam Fire Extinguisher)



          โฟมเข้มข้น AFFF กับน้ำ เมื่อผสมกันแล้วผสมกับอากาศในปริมาณสัดส่วนที่เหมาะสมแล้วถ้าฉีดออกมาภายใต้แรงดันจะเกิดปฎิกิริยาเป็นฟองโฟมสีขาว ใช้ในเพลิงไหม้ประเภท A B   


          5.ชนิดเคมีเหลว (Water Mist)

ถังดับเพลิงประเภท Water Mist หรือเคมีเหลวเป็นสารดับเพลิงชนิด AR AFFF โดยได้รับการรับรองมาตรฐาน  UL CLASSSIFY จากประเทศสหรัฐอเมริกา สารดับเพลิงฉีดตัวออกมาในลักษณะเป็นละออง เพื่อไม่ให้เกิดการนำไฟฟ้า ใช้ในเพลิงไหม้ประเภท A, B, C,K ได้โดยไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ 

          6.ชนิดน้ำ (Water)

          ถังดับเพลิงประเภท Water หรือน้ำอัดแรงดันตัวถังเป็นสแตนเลส มีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการใช้งาน ได้เป็นอย่างดี ฉีดได้ในระยะไกล ใช้ในเพลิงไหม้ประเภท A


วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเภทของไฟ ?



ประเภทของไฟแบ่งได้ 5 ประเภท(ตามมาตรฐาน NFPA 10)





1.   ไฟประเภท A    สัญญลักษณ์ ตัวอักษร A  อยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีเขียว ตัวอักษร สีดำ
              สัญญลักษณ์ที่เป็น รูปภาพ  จะเป็นรูปถังขยะ และท่อนไม้ที่ติดไฟ (ตามรูปที่แนบ)
              เป็นไฟที่ เกิดจากเชื้อเพลิง  ไม้  กระดาษ  ผ้า  ยาง  และ พลาสติก
           
2.  ไฟประเภท B  สัญญลักษณ์  ตัวอักษร B  อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า  พื้นสีแดง ตัวอักษรสีดำ
              สัญญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ  จะเป็นรูป ถังใส่น้ำมัน ที่ติดไฟ (ตามรูปที่แนบ)
              เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงเหลวติดไฟ   น้ำมันเบนซิน,  น้ำมันดีเซล,  สี,   สารละลาย  
             
3.  ไฟประเภท C  สัญญลักษณ์  ตัวอักษร  C  อยู่ในรูปวงกลม   พื้นสีฟ้า  ตัวอักษรสีดำ
              สัญญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ  จะเป็นรูป ปลั๊กไฟที่ลุกติดไฟ เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแส                ไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร
           
4.  ไฟประเภท D   สัญญลักษณ์  ตัวอักษร  D  อยู่ในรูปดาวห้าแฉก  พื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ
            สัญญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ  จะเป็นรูป เฟืองโลหะติดไฟ
            เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็น โลหะลุกติดไฟ เช่น ปุ๋ยยูเรีย,ผงแมกนิเซียม,ผงอลูมิเนียม
5.  ไฟประเภท K   สัญญลักษณ์  ตัวอักษร  K   อยุ่ในรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า  พื้นสีดำ ตัวอักษรสีขาว
            สัญญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ  จะเป็นรูป กะทะทำอาหารที่ลุกติดไฟ
            เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงน้ำมันทำอาหาร   น้ำมันพืช,  น้ำมันจากสัตว์  และไขมัน

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เพลิงไหม้คืออะไร ?

                
               เพลิงไหม้ หมายถึง อันตรายที่เกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง ไฟจะรุนแรงขึ้นถ้าการลุกไหม้ที่มีเชื้อเพลิงจำนวนมากจะสร้างความสูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต
            
             ทฤษฏีการเกิดเพลิงไหม้
                           การสันดาปหรือการเผาไหม้ คือปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากการรวมตัวของเชื้อเพลิงกับออกซิเจน ซึ่งเป็นผลให้เกิดความร้อนและแสงสว่าง ไฟจะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 อย่าง เรียกว่า ทฤษฏีสามเหลี่ยมของไฟ ประกอบด้วย 
                                                1.ออกซิเจน 
                                                2.ความร้อน 
                                                3.ออกซิเจน


ภาพจาก www.imperial.co.th

เมื่อองค์ประกอบทั้ง 3 ครบและความร้อนถึงจุดติดไฟ ก็จะทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ถ้าหากไม่ได้รับการป้องกันเบื้อต้นที่ทันท่วงทีจะทำให้เกิดเพลิงไหม้รายใหญ่และเกิดการสูญเสียทั้งทรัพย์สินและอาจถึงชีวิตได้  


เขียนโดย นายชาคริต รุ่นเจริญ 
               นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
              มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลกรุงเทพ
              อาสาสมัครหน่วยบรรเทาสาธารณภัยใต้36-25