วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

วิธีใช้ถังดับเพลิง

วิธีใช้ถังดับเพลิง


จะลงมือทำอะไรยิ่งเป็นเหตุฉุกเฉินด้วยแล้วเน้นว่า สติ ต้องมาก่อน วิธีการใช้ถังดับเพลิงชนิดมือถือทุกประเภท ก็มีอยู่ 4 ขั้นตอน คือ

1.ดึง   คือดึกสลักออกจากถังดับเพลิงซึ่งจะมีกระดูกงูล็อคอยู่ถ้าดึงไม่ออกให้ใช้การบิดเเล้วค่อยดึงสลักก็จะหลุดออกมา
2.ปลดคือการปลดสายฉีดของถังดับเพลิงออกโดยจับบริเวณปลายสายฉีดแล้วดึงออกมาจะ   ออกง่ายกว่าจับปริเวณโคนสาย
3.กด   กดคือการกดคันบีบของถังดับเพลิงเพื่อให้เคมีในถังออกมาใช้ในการดับเพลิง
4.ส่าย คือการส่ายปลายสายฉีดไปมาเพื่อดับเพลิง ควรฉีดไปยังฐานของเพลิงหรือต้นเพลิง ไม่ควรฉีดไปบริเวณเปลวเพลิง

ขอบคุณข้อมาจาก สถานีดับเพลิงบ่อนไก่,สถานีดับเพลิงบางเขน,สถานีดับเพลิงสามเสน

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

Flashover

Flashover


ภาพจาก www.ifa-swiss.ch

          Flashover หมายถึง การเปลี่ยนแปลงการเผาไหม้พร้อมกันในทันทีทันใดของไอเชื้อเพลิงภายในอาคารที่มีลักษณะปิดทึบ ทำให้เกิดเปลวไฟการลุกท่วมห้องในชั่วพริบตา  โดยที่ควัน และความร้อนจะถูกสะสมที่ ใต้แนวเพดาน และเมื่ออุณหภูมิจะสูงขึ้น จะเริ่มแผ่รังสีความร้อนลงสู่ด้านล่าง เชื้อเพลิงเกิดขบวนการคายไอ จนทั่วทั้งห้องและ ถึง จุดติดไฟได้ด้วยตัวเอง (Ignition Temperature) จากนั้นก็ลุกติดไฟพร้อมกัน

           Fire gas Ignition เป็นการจุดระเบิดของไฟจากไอระเหย ปฏิกิริยาดังกล่าวโดยมากเิกิดจากสาเหตุการนำพาเปลวไฟไปยังไอระเหยที่มีส่วนผสมของก๊าซอยู่แล้วและส่วยดังกล่าวมีปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอต่อการจุดติดเกิดขึ้น และสภาวะการที่ความร้อนสามารถส่งผ่านจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งได้จนเกิดสภาวะการจุดติด การรั่วไหลของไอระเหย ไอระหยของไฟสามารถไหลผ่านท่ออากาศ ช่องซาร์ฟ ไปยังห้องอื่นได้เช่นกัน ไอระเหยของไฟสามารถสะสมอยู่ทุกที่ของโครงสร้างอาคาร เช่นฝ้าเพดาน ใต้บันได สภาวะเช่นนี้ไม่ต้องการอากาศเข้ามาเติมเพิ่มเพื่อการเผาไหม้ เนื่องจากไฟมีไอระเหยและส่วนผสมที่พร้อมจุดติดหรือระเบิดทันทีที่มีประกายไฟ



วีดีโอขั้นตอนการเกิด Flashover

วีดีโอจาก OakRidgeFD
ขอบคุณข้อมูลจาก สถานีดับเพลิงสามเสน

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

Backdraft

 Backdraft 



การเกิดปรากฎการณ์ เป็นการระเบิดเนื่องจากอากาศวิ่งเข้าหาเชื้อเพลิงที่เป็นไฟหรือควันที่ยังไม่ติดไฟหรือไฟใกล้ดับ ในบางครั้งเรียกว่า smoke explosion ( การระเบิดของควัน ) เป็น ปรากฏการณ์ที่ควันเกิดการลุกไหม้อย่างรวดเร็วและรุนแรงเกิดขึ้นโดยการนำออกซิเจนเข้าไปในห้องหรือบริเวณพื้นที่จำกัดที่มีการเผาไหม้จนออกซิเจนที่มีอยู่ลดน้อยหรือใกล้หมดอย่างฉับพลัน ขณะที่ไฟยังไม่ดับสนิทเพราะมีความร้อนสะสมอยู่เมื่อเปิดห้อง มีช่องให้อากาศจากภายนอกไหลเข้าทำให้ปัจจัยการเกิดไฟครบสมบูรณ์ เกิดการจุดติดอย่างรวดเร็วเฉียบพลัน รุนแรง มีขนาดใหญ่เหมือนกับการระเบิด



สิ่งที่บ่งบอกว่ากำลังจะเกิด backdraft 

- ปริมาณควันดำหนาแน่นมาก
- ควันไหลเข้า — ออกตามรอยประตูหน้าต่าง 
- ควันถูกผลักออกด้วยแรงดัน 
- ห้องหรืออาคารที่เกิดเหตุมีลักษณะที่ปิดสนิท ขนาดเล็ก มีช่องระบายอากาศน้อย
- ผนังห้องหรืออาคารมีความร้อนสูง

Pre-Backdraft ก่อนเกิด Backdraft จะสังเกตเห็นควันถูกดูดไหลเข้า — ออก ตามช่องเปิดต่างๆตามกระจกหน้าต่างจะมองเห็นควันดำและในขณะนั้นห้องทั้งห้อง จะเต็มไปด้วยความร้อนคาร์บอนมอนออกไซด์และไอระเหยอื่นๆดังนั้นเมื่อเปิด ประตูเข้าไป ควันภายในจะพุ่งออกมาเนื่องจากภายในมีความดันสูงกว่า อากาศเย็นจากภายนอกจะถูกดูดเข้าไปภายในอาคาร โดยอากาศที่เย็นกว่าจะอยู่ที่บริเวณด้านล่างของห้อง จึงเกิดการผสมระหว่างก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ กับอากาศดีจากภายนอก ( มีออกซิเจน 21 % ) ซึ่งจะค่อยๆไหลเข้าสู่จุดกำเนิดไฟไปแทนอากาศร้อนที่จุดกำเนิดไฟ ทำให้อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น เห็นไฟวิ่งอยู่ระดับพื้นต่ำกว่าระดับควัน เมื่อควันลอยสูงขึ้นอีก 1 — 2 นิ้ว ทำให้ CO และ O2 ผสมกันมากขึ้นซึ่งเมื่อผสม ( ที่ CO 14.5 — 74% ) นี้ไหลไปถึงเปลวไฟ ทำให้องค์ประกอบไฟครบ 3 อย่าง ทำให้เกิดการจุดติดขึ้นมาการลุกไหม้จะเริ่มที่ฐานของไฟใต้ควันแล้วย้อนกลับ ไปตามทิศทางที่อากาศเข้ามา ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเร็วมากเสมือนการระเบิด การเผาไหม้ทำให้เกิดความร้อนทำให้อากาศเกิดการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วความดันสูงนี้อาจทำให้กระจกหน้าต่างแตก ผนังล้ม ความรุนแรงของการระเบิด backdraft จึงขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง

ชั้นของความร้อน Thermal Layers ในห้องที่กำลังลุกไหม้นั้นก่อนที่จะเกิดปรากฎการณ์ทั้ง Flashoverและ ฺBackdraft จะมีชั้นของความร้อนแฝงอยู่โดยแยกตามความร้อนผลผลิตจากการเผาไหม้ เปลวไฟ ก๊าซ เขม่า ซึ่งก็แบ่งได้ 3 ชั้น คือ

1.ชั้นความร้อนสูงสุด Extreme Heat

2.ชั้นความร้อนปานกลาง  Moderate Heat

3.ชั้นความร้อนต่ำ Low Heat

แต่ทั้งสองปรากฎการณ์มีผลอันตรายกับตัวเจ้าหน้าที่ดับเพลิงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่มีการสังเกตุและเข้าใจขบวนการลุกไหม้ของเชื้อเพลิงว่าการลุกไหม้ของเชื้อเพลิงอยู่ในช่วงใด ลักษณะโครงสร้างอาคาร สิ่งแวดล้อมโดยรอบ


     ขอบคุณข้อมูลจาก สถานีดับเพลิงสามเสน

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

การแผ่รังสีความร้อน

การแผ่รังสีความร้อน



การแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายเทความร้อนออกรอบตัวทุกทิศทุกทาง โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงาน ซึ่งเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้จะมีการแผ่รังสีความร้อนออกรอบทุกทิศทาง ทำให้อาคารบ้านเรือนประชาชนรอบข้างที่มีเชื้อเพลิง(ตู้ เตียง เสื้อผ้า วอลเปเปอร์)เกิดการสะสมความร้อนจนทำให้เกิดการจุดติดของไฟโดย ไม่จำเป็นต้องมีเปลวไฟก็สามารถติดต่อลุกลามได้
#ไฟไหม้บ้านตรงข้ามสามารถลุกลามบ้านเราได้
#องค์ประกอบของไฟ #ความร้อน #เชื้องเพลิง#ออกซิเจน