วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 
(Cardiopulmonary resuscitation : CPR)


    หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจภายนอก

ภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น
             ภาวะหยุดหายใจ (respiratory arrest) และภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) - เป็นภาวะที่มีการหยุดการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจและการไหลเวียนเลือด ส่วนมากมักจะพบว่ามีการหยุดหายใจก่อนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จะทำให้เสียชีวิตได้


สาเหตุของการหยุดหายใจ

            ทางเดินหายใจอุดตันจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ การแขวนคอ การถูกบีบรัดคอ การรัดคอ เป็นต้น ในเด็กเล็กสาเหตุจากการหยุดหายใจที่พบได้มากที่สุดคือ การสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าหลอดลม เช่น ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ เมล็ดถั่ว เป็นต้น
มีการสูดดมสารพิษ แก็สพิษ ควันพิษ
การถูกกระแสไฟฟ้าแรงสูงดูด
การจมน้ำ
การบาดเจ็บที่ทรวงอก ทำให้ทางเดินหายใจได้รับอันตรายและเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
โรคระบบประสาท เช่น บาดทะยัก ไขสันหลังอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาต
การได้รับสารพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน ต่อยบริเวณคอ หน้า ทำให้มีการบวมของเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจและหลอดลมมีการหดเกร็ง
การได้รับยากดศูนย์ควบคุมการหายใจ เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น โคเคน บาร์บิทูเรต ฯลฯ
โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน
มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และมีภาวะหายใจวายจากสาเหตุต่างๆ

 สาเหตุของหัวใจหยุดเต้น

               หัวใจวายจากโรคหัวใจ จากการออกกำลังกายมากเกินปกติ หรือตกใจหรือเสียใจกระทันหัน
มีภาวะช็อคเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน จากการสูญเสียเลือดมาก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือมีเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ
ทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
การได้รับยาเกินขนาดหรือการแพ้

ข้อบ่งชี้ในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

                  ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ โดยที่หัวใจยังคงเต้นอยู่ประมาณ 2-3 นาที ให้ผายปอดทันที จะช่วยป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ และช่วยป้องกันการเกิดภาวะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนอย่างถาวร
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นพร้อมกัน ซึ่งเรียกว่า clinical death การช่วยฟื้นคืนชีพทันทีจะช่วยป้องกันการเกิด biological death คือ เนื้อเยื่อโดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจน
     ระยะเวลาของการเกิด biological death หลังจาก clinical death ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่โดยทั่วไป มักจะเกิดช่วง 4-6 นาที หลังเกิด clinical death ดังนั้นการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพจึงควรทำภายใน 4 นาที 

ขอบคุณข้อมาจาก สถานีดับเพลิงบ่อนไก่,สถานีดับเพลิงบางเขน,สถานีดับเพลิงสามเสน

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559

Springkler


Sprinkler
      สปริงเกอร์ คือ อุปกรณ์อย่างหนึ่งในระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยน้ำ เมื่ออุณหภูมิความร้อนภายในห้องสูงจะทำให้กระเปาะแก้วจะแตกออก แล้วจะมีน้ำฉีดออกมาโดยอัตโนมัติ
กระเปาะแก้วสีแดง ทนอุณหภูมิ 68 องศาเซลเซียส
กระเปาะแก้วสีเหลือง ทนอุณหภูมิ 79 องศาเซลเซียส
กระเปาะแก้วสีเขียว ทนอุณหภูมิ 93-100 องศาเซลเซียส
กระเปาะแก้วสีฟ้า ทนอุณหภูมิ 141 องศาเซลเซียส
กระเปาะแก้วสีม่วง ทนอุณหภูมิ 182 องศาเซลเซียส
กระเปาะแก้วสีดำ ทนอุณหภูมิ 260 องศาเซลเซียส
ซึ่งการติดตั้งก็จะดูอุณหภูมิที่เกิดขึ้นภายในห้อง ก่อนทีจะติดตั้ง


ขอบคุณข้อมาจาก สถานีดับเพลิงบ่อนไก่,สถานีดับเพลิงบางเขน,สถานีดับเพลิงสามเสน

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

การตรวจสอบถังดับเพลิง ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่

การตรวจสอบถังดับเพลิง ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่

กรณีมีมาตรวัด ให้ดูเข็มให้ชี้อยู่ในแถบสีเขียว ถ้าเข็มเอียงไปในด้านซ้ายมือ แสดงว่าแรงดันในถังไม่อยู่ใน    สภาพพร้อมใช้สมบูรณ์ ให้รีบดำเนินการนำไปอัดแรงดันเพิ่มเติม 
 หมายเหตุ : ส่วนมากจะเป็นจำพวกถังดับเพลิงประเภทผงเคมีแห้ง และ ประเภทน้ำอัดแรงดัน Pressure GaugePressure Gauge

กรณีไม่มีมาตรวัด  จะเป็นถังดับเพลิงประเภมซีโอทู ให้ใช้การตรวจสอบจากการชั่งน้ำหนักถ้าน้ำหนักลดลงเกิน 
20 % ให้นำไปอัดซีโอทูเพิ่ม

ขอบคุณข้อมาจาก สถานีดับเพลิงบ่อนไก่,สถานีดับเพลิงบางเขน,สถานีดับเพลิงสามเสน

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

การปฐมพยาบาลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

         การปฐมพยาบาลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก        


หลักการปฐมพยาบาลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก
1. หยุดยั้งความร้อนโดยปฏิบัติดังนี้
- ดับไฟด้วยน้ำราด หรือใช้ผ้าหนา ๆ คลุมตัว
- ถอดเสื้อผ้าที่ไฟไหม้ หรือถูกน้ำร้อนพร้อมเครื่องประดับที่อมความร้อนออกให้หมด
2. ตรวจร่างกาย ดูการหายใจ ดังนี้
- การหายใจถ้าพบสิ่งผิดปกติ เช่น เสียงแหบ หายใจผิดปกติ ต้องรีบช่วยหายใจโดยเร็ว
- ชีพจรถ้าเบามากหรือไม่เต้นต้องรีบช่วยนวดหัวใจ
- ถ้าบาดเจ็บมีเลือดออกต้องรีบห้ามเลือดก่อน

ขอบคุณข้อมาจาก สถานีดับเพลิงบ่อนไก่,สถานีดับเพลิงบางเขน,สถานีดับเพลิงสามเสน